หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
( ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต ) มหาวิทยาลัยรังสิต
ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ(ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต)
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Information Technology Management (Internet-Based Distance Education
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
ภาษาอังกฤษ : Master of Science (Information Technology Management)
อักษรย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.S. (Information Technology Management)
ปรัชญา
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยรังสิตตระหนักถึงความขาดแคลนอย่างมากของบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้ความสามารถในการคิดค้นพัฒนาตลอดจนประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มีศักยภาพในการคิดริเริ่ม คาดการณ์ บริหารและสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งของภาครัฐและเอกชน
ปณิธาน
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งที่จะขยายโอกาสการเข้าถึงและทางเลือก ด้านอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ให้กับนักศึกษาและผู้ใฝ่หาความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพด้านการจัดการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มเติม เพื่อเป็นผู้นำที่ดีในองค์กร สังคม และประเทศชาติ
วิสัยทัศน์
เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ และการค้นคว้าวิจัย มุ่งเน้นในการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจากอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในแวดวงอุตสาหกรรมไอซีที มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จริง หลักสูตรมุ่งเน้นที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มีศักยภาพในการคิดริเริ่ม คาดการณ์ บริหารและสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งของภาครัฐและเอกชน
พันธกิจ
การเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพตนเองด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลุดพ้นจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและเวลาในการเรียน โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่อเนื่องและผสมผสาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ที่มีคุณภาพมีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร
จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบสนองกับความต้องการของภาครัฐ
และเอกชน ซึ่งจะสนับสนุนให้สร้างโอกาสและมีศักยภาพ ในการแข่งขันในสังคมโลกได้อย่างเข้มแข็ง
2. เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มพูนทักษะและความรู้ทางด้านการบริหารจัดการและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่
นักบริหารระดับกลางทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารและการดำเนินงานของ
องค์กรให้ก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. เพื่อเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
และการสื่อสารรวมถึงการจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับองค์กร ชุมชน ท้องถิ่นภายใน
ประเทศ และระหว่างประเทศ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปี่ยมด้วย คุณธรรมจรรยาบรรณ รวมทั้ง
จิตสำนึกในการดำเนินกิจการในหน้าที่โดยมุ่งหวังที่จะตอบสนองความต้องการและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจมีภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาค
การศึกษาก็ได้ ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาในหลักสูตร
คุณสมบัติผู้สมัคร
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขา
การลงทะเบียนเรียน
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนรายวิชาไม่ต่ำกว่า 6 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต การลงทะเบียนเรียน โดยมีจำนวนหน่วยกิตมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ ต้องได้รับความเห็น ชอบจากหัวหน้าหลักสูตรและได้รับอนุมัติจากคณบดี เว้นแต่ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนโดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมกันไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาอนุมัติได้
*ในกรณีมีเหตุอันควรมหาวิทยาลัยอาจประกาศงดการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งหรือจำกัดจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาใดก็ได้
โครงสร้างหลักสูตร และแผนการศึกษา
จำนวยหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
1.ในกรณีที่ศึกษาตามแผน ก จำนวน 39 หน่วยกิต
2.ในกรณีที่ศึกษาตามแผน ข จำนวน 39 หน่วยกิต
หมวดวิชา |
แผน ก |
แผน ข (หน่วยกิต) |
1. รายวิชาเรียน (Course Work) |
27 |
33 |
1.1 หมวดวิชาเฉพาะสาขา |
||
1.1.1 หมวดวิชาบังคับ |
18 |
18 |
1.1.2 หมวดวิชาเลือก |
9 |
15 |
2. วิทยานิพนธ์ |
12 |
– |
3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง |
– |
6 |
4. รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต |
– |
– |
รวม |
39 |
39 |
*หมายเหตุ : ทุกรายวิชาจะจัดให้มีการพบปะกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง
รายการ | แผน ก. | แผน ข. |
ปีที่ 1 | ||
ภาคเรียนที่ 1 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 |
ภาคเรียนที่ 2 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 |
รวมค่าใช้จ่ายปีที่ 1 | 72,000 | 72,000 |
ปีที่ 2 | ||
ภาคเรียนที่ 1 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 | 3 วิชา ×12,000= 36,000 |
วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต ×4,000=48,000 | – |
ภาคเรียนที่ 2 |
|
2 วิชา ×12,000= 24,000
|
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง | – |
6 หน่วยกิต ×4,000=24,000
|
รวมค่าใช้จ่ายปีที่ 2 | 84,000 | 84,000 |
1 ) รวมค่าลงทะเบียน
ปีที่ 1 72,000 บาท
ปีที่ 2 84,000 บาท
2 ) ค่าลงทะเบียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 9,000 บาท
** สรุปค่าใช้จ่าย 165,000 บาท ( ไม่เสียค่าบำรุงการศึกษาตลอดหลักสูตร )
แผนการศึกษา
แผนการศึกษา แผน ก แผนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ( Thesis Option )
ปีที่ 1 ภาคการศึกษา 1
ITM610 เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Economics) 3(3-0)
ITM613 การจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (Management of Information and Communication Systems) 3 (3-0)
ITM615 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 3 (3-0)
ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต (Internet and Communication Technologies) 3 (3-0)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ITE610 การบริหารจัดการโครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Project Management) 3 (3-0)
ITM691 สัมมนาในหัวข้อการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Seminar in Information Technology Management) 3 (3-0)
TE638 คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehousing) 3 (3-0)
ITM633 การจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management) 3 (3-0)
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ITM692 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) 3 (3-0)
ITM699 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 3(0-9)
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ITM699 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 9(0-27)
แผนการศึกษา แผน ข. แผนที่ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ (Non-Thesis Option)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ITM610 เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Economics) 3(3-0)
ITM613 การจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (Management of Information and Communication Systems) 3(3-0)
ITM615 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 3(3-0)
ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต (Internet and Communication Technologies) 3(3-0)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ITE610 การบริหารจัดการโครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Project Management) 3(3-0)
ITM691 สัมมนาในหัวข้อการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Seminar in Information Technology Management) 3(3-0)
ITE638 คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehousing) 3(3-0)
ITM633 การจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management) 3(3-0)
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ITM692 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) 3(3-0)
ITMxxx วิชาเลือก (Elective) 3(3-0)
ITMxxx วิชาเลือก (Elective) 3 (3-0)
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ITM696 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) 6(0-18)
ระยะเวลาการเรียน
1. ภาคเรียนที่ 1 เริ่ม ส.ค. – ธ.ค.
2. ภาคเรียนที่ 2 เริ่ม ม.ค. – พ.ค.
3. ภาคเรียนที่ 3 เริ่ม มิ.ย. – ก.ค. (ภาคฤดูร้อน)
ระยะเวลาการเรียนในแต่ละภาคเรียน 4 เดือน / ภาคเรียน
การวัดประเมินผลในแต่ละรายวิชา
การวัดประเมินผลในแต่ละรายวิชาให้ประเมินเป็นอักษรระดับขั้น (Letter Grades) ที่มีค่าระดับขั้น (Numeric Grades) จำนวน 6 ระดับ และสัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับ ดังต่อไปนี้
ระดับชั้น A ความหมายดีเยี่ยม ค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 4.0
ระดับชั้น B+ ความหมายดีมาก ค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 3.5
ระดับชั้น B ความหมายดีค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 3.0
ระดับชั้น C+ ความหมายพอใช้ ค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 2.5
ระดับชั้น C ความหมายอ่อนมาก ค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 2.0
ระดับชั้น F ความหมายตก ค่าระดับชั้น ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) เท่ากับ 0.0
รายวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
แผน ก ไม่นับหน่วยกิตรวม
แผน ข ไม่นับหน่วยกิตรวม
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐาน ตามความเห็นของหัวหน้าหลักสูตรหรือคณะกรรมการหลักสูตร โดยพิจารณาจากใบรับรองผลการศึกษา(Transcript) ในระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาและผลการสอบคัดเลือก และไม่นับรวมเป็นหน่วยกิตของหลักสูตรฯ ส่วนการวัดผลรายวิชาเสริมพื้นฐานใช้ระบบ S/U (พอใจ/ไม่พอใจ) ดังต่อไปนี้
ENG500 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา (English for Graduate Studies) 3(3-0)
หมวดวิชาบังคับ ( จำนวน 18 หน่วยกิต )
แผน ก จำนวน 18 หน่วยกิต
แผน ข จำนวน 18 หน่วยกิต
ITE610 การบริหารจัดการโครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Project Management) 3(3-0)
ITM610 เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Economics) 3 (3-0)
ITM613 การจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (Management of Information and Communication Systems) 3(3-0)
ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต (Internet and Communication Technologies) 3(3-0)
ITM691 สัมมนาในหัวข้อการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Seminar in Information Technology Management) 3(3-0)
ITM692 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) 3(3-0)
หมวดวิชาบังคับ ( จำนวน 15 หน่วยกิต )
แผน ก จำนวน 9 หน่วยกิต
แผน ข จำนวน 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
CSC654 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) 3(3-0)
ITE604 ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems) 3(3-0)
ITE638 คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehousing) 3(3-0)
ITM641 การจัดระเบียบสารสนเทศและการสืบค้น (Information Organization and Retrieval) 3(3-0)
ITE653 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technologies) 3(3-0)
ITE660 โครงข่ายไร้สาย (Wireless Networking) 3 (3-0)
ITE611 การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ (Object-oriented Programming) 3(3-0)
หมวดวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารองค์กร
ITE644 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) 3(3-0)
ITE654 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Creative Leadership and Management of Change) 3 (3-0)
ITM612 การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) 3(3-0)
ITM614 การจัดการองค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization Management) 3 (3-0)
ITM615 การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) 3(3-0)
ITM616 การจัดการทุนลูกค้า (Customer Capital Management) 3(3-0)
หมวดวิชาการบริหารจัดการองค์ความรู้
ITM615 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 3(3-0)
ITM618 การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพและการประยุกต์ใช้ (Performance Indicators Development and Application) 3(3-0)
ITM621 การจัดการความรู้ในการวางแผนกลยุทธ์ (Knowledge Management for Strategic Planning)3(3-0)
ITM622 เครื่องมือทางการจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools) 3(3-0)
หมวดวิชาการประยุกต์/นโยบายทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ITM630 การจัดการและการออกแบบระบบโทรคมนาคม (Telecommunication System Design and Management) 3 (3-0)
ITM631 การออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (Design and Analysis of Information and Communication Systems) 3(3-0)
ITM632 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) 3(3-0)
ITM633 การจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management) 3(3-0)
ITM650 นโยบายและกลยุทธ์โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Telecommunication and Information Technology Policy and Strategy) 3(3-0)
ITM651 หลักการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Principles) 3(3-0)
ITM 652 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) 3 (3-0)
หมวดวิชาหัวข้อพิเศษทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ITM690 หัวข้อพิเศษทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Special Topics in Information Technology Management) 3(3-0)
วิทยานิพนธ์ (จำนวน 12 หน่วยกิต)
แผน ก จำนวน 12 หน่วยกิต
ITM699 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12(0-36)
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (จำนวน 6 หน่วยกิต)
แผน ข จำนวน 6 หน่วยกิต
ITM696 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) 6(0-18)